E-book สวรรค์รำลึก

รำลึกศึกษา

ศึกษาประวัติของหุบผาสวรรค์เมืองศาสนาในอดีต

ร้านหนังสือสวรรค์รำลึก

เยี่ยมชมเรา

สื่อมงคลสำนักปู่สวรรค์

สิ่งดีที่ฝากไว้ ดร.คลุ้ม วัชโรบล

ความรู้ทางวิญญาณ จากการศึกษาของ ศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล

ภาพยนต์รำลึก

ชมภาพยนต์ประวัติศาสตร์และสื่อเพื่อการศึกษาค้นคว้า

สมเด็จดิน ๙ ประเทศ

   ร้านวัตถุมงคล ชสปส.   

 สมเด็จดิน ๙ ประเทศ 

Scan10004

 

สมเด็จดิน ๙ ประเทศ

เครื่องรางของขลังที่เราบูชาและเชิญไว้กับตัวนั้น จะศักดิ์สิทธิ์เพียงไรย่อมขึ้นอยู่กับพลังจิตของผู้ที่สร้างที่แผ่รัศมีอำนาจจิตเข้าไปเกาะในวัตถุนั้น และอยู่ที่ผู้ใช้มีศีลธรรมบริสุทธิหรือไม่เพียงไร สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับเหตุ ปัจจัยและวิบากกรรม

          สัจจะของผู้สำเร็จสร้างพระก็มีกาลเวลาสลาย หลักความจริงขององค์สมณโคดมก็คือ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนเราพยายามปฎิบัติตนให้รู้แจ้งแห่งวิมุติธรรม เมื่อนั้นเราก็ช่วยตนได้ เครื่องรางของขลังย่อมเสื่อมพลัง เมื่อผู้ใช้ไม่ตั้งอยู่ในสัจจะไม่รักษาศีลธรรม

          ทั้งนี้ หลวงพ่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ได้ปรารภว่า จะสร้างพระสมเด็จ ๙ประเทศ จำนวน แปดหมื่นสี่พันองค์ เป็นปูชนียวัตถุชิ้นสุดท้ายให้แก่โลกมนุษย์ เพื่อเป็นสิ่งรำลึกและอนุสรณ์เตือนใจว่าเมื่อครั้งหนึ่งเราท่านได้สร้างกุฎิ ศาลาฟังธรรม ศาลาปฎิบัติธรรมร่วมกัน เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายของโครงการที่ว่า “จะใช้สถานที่แห่งนี้สร้างคนให้ดีเป็นศรีแก่ศาสน์ เป็นปราชญ์สร้างชาติให้เจริญ” ด้วยใช้หลักสมาธิข่มกิเลสละชั่ว สร้างความดี สนับสนุนการสร้างคนให้เป็นพระ บวชเพื่อสู่โลกุตรธรรมเป็นสำคัญ เป็นต้นกำเนิดของการสร้างพระเครื่องสมเด็จ ๙ ประเทศ

          เนื่องจากจะสร้างพระสมเด็จ ๙ ประเทศ ขึ้นเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย ก็จำเป็นต้องพิถีพิถันสร้างให้ถูกต้อง ทั้งพรหมบัญญัติ เทวบัญญัติ ยมบัญญัติ และถูกต้องตามพิธีพทธาภิเษกในปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธมงคลวัตถุต่างๆ กว่าจะเสาะหามาได้ครบ ใช้เวลานานกว่า 10 ปี ผงวัตถุมงคลที่นำมาประกอบสร้างพระสมเด็จ ๙ ประเทศ มีดังนี้

          ๑. ดินศักดิ์สิทธิ์จากสถานที่บำเพ็ญธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ และผู้สำเร็จอื่นๆ ในแดนพุทธาภูมิ ๙ ประเทศ (ประเทศอินเดีย เนปาล ไทย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย กัมพูชา และอินโดนีเซีย)

          ๒. ผงว่านวิทยาคม ปลูกด้วยการบริกรรมพระคาถาเช้าเย็น เป็นมงคลเลิศในทางอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด เมตตามหานิยม เลือกสรรเฉพาะชื่อเป็นมงคล ๑๐๘ ชนิด

          ๓. ดอกไม้นามมงคล ๑๐๘ พันธ์

          ๔. ผงพระสมเด็จอิทธิเจ ผงปถมัง ผงพุทธคุณ ผงตรีนิสิงเห และผงมหาราช เป็นของเก่าแก่ที่ทำในสมัยเจ้าประคุณสมเด็จโตมีสังขาร

          ๕. ผงพระคาถาชินปัญชรกำแพงแก้วเจ็ดชั้น

          ๖. ผงผ้ายันต์พิทักษ์เอกราช เป็นผ้ายันต์ที่ทหาร ตำรวจ และอาสาสมัครกล่าวขวัญถึงความศักดิ์สิทธ์ ได้แสดงปาฎิหาริย์ต่างๆ ในสมรภูมิอย่างมากมาย เช่น สมรภูมิหินร่องเกล้า นาแก และเชียงคาน

          ๗. น้ำพระพุทธมนต์ในพิธีเสาร์ห้า

          ๘. น้ำมันพระพุทธมนต์ในพิธีต่างๆ

          ๙. ผงโองการใบลาน (โบราณถือว่าศักดิ์สิทธิ์มีอาถรรณ์)

          สำหรับพระเครื่องมหามงคลสร้างในปี ๒๕๑๖สมเด็จดิน ๙ ประเทศ ต้นตำรับพิมพ์ใหญ่มีเนื้อพระ ๕ เนื้อ มีสีแตกต่างกันไปตามชนิดของผลวิเศษและมวลสารที่ผสม แบ่งออกเป็น

๑.     เนื้อมหานิลวิเศษ (สีเทาแก่)

๒.     เนื้อโลกเชษฐ์มหานิล (สีเทาอ่อน)

๓.     เนื้อเสมาธรรมจักร (สีดำอมเขียวดุจศิลาธรรมชาติ)

๔.     เนื้อเสมาธรรมจักร (สีดำอมเขียวดุจศิลาธรรมชาติ)

๕.     เนื้อศักดิ์หยกดำ (สีดำมันวาว)

          สมเด็จดิน ๙ ประเทศทั้ง ๕ เนื้อผงมีคุณวิเศษมหาศาล ที่แตกต่างกันหากสนใจรายละเอียด กรุณาศึกษาได้จากหนังสือ ยอดพระเครื่องแห่งยุค

          อย่างไรก็ดี สิ่งนั้นจะขลังสิ่งนี้จะดี ย่อมอยู่ที่สัจบารมี และอุคหนิมิต (อารมณ์ที่เจนใจ) ของเกจิอาจารย์นั้นๆ เรื่องเหล่านี้จึงเป็นเรื่องของการยึด คือ บุคคลในฆาราวาสวิสัย ปุถุชน ผู้สัมมาชีวะของการดำรงตนอยู่ในโลกก็จำเป็นจะต้องมีสิ่งที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการคุ้มครองตนเพื่อความสำเร็จนั้นๆ

          ที่ว่าพระองค์นั้นแท้ องค์นั้นไม่แท้อันที่จริงถ้ารูปร่างเป็นพระแล้วแท้ทั้งนั้น อยู่ที่ว่าผู้ปลุกเสกมีพลังแข็งแกร่งขนาดไหนในการบรรจุพุทธคุณก็ดีอิทธิปาฎิหารย์แห่งมโนยิทธิก็ดีนั่นขึ้นอยู่กับภาวะ

          พระย่อมไม่ช่วยคนผิด ในวิถีของเมตตาและแคล้วคลาด เมื่อศัตรูมาทำร้ายเราย่อมแคล้วคลาด ถ้าเราตั้งตัวเป็นศัตรูกับเขาย่อมไม่แคล้วคลาด ในทางมหานิยม ถ้าเราใช้เพื่อการสัมมาอาชีวะในทางสุจริต ย่อมมีเมตตาอยู่แต่ถ้าใช้ในทางที่ผิดย่อมไม่มีเมตตา เพราะสร้างอกุศลกรรมพระย่อมไม่ช่วย       

          พระบูชาสมเด็จดิน ๙ ประเทศ นะโม โพธิสัตว์ โต พรหมรังสี

สัจจะของผู้สำเร็จสร้างพระก็มีกาลเวลาสลาย หลักความจริงขององค์สมณโคดมก็คือ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนเราพยายามปฎิบัติตนให้รู้แจ้งแห่งวิมุติธรรม เมื่อนั้นเราก็ช่วยตนได้โปรดติดตามฉบับหน้า

สนใจรายละเอียดติดต่อ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ อาคารอริยสัจสี่ เลขที่ 51 ซ.เพชรเกษม 65 แขวง/เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160 โทร. 0-2421 0489


 

Contribute!
Books!
Shop!